January 12, 2024
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเข้ารหัสกุญแจสาธารณะนั้นได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วจากธุรกิจต่างๆ เนื่องจากมีความปลอดภัยในระดับสูงและสามารถใช้งานได้จริงในการปกป้องข้อมูลของการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ปลายทาง
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงการเข้ารหัสกุญแจสาธารณะคืออะไร และวิธีนำไปในการยืนยันตัวตนเพื่อความแข็งแกร่งและการเดินทางของผู้ใช้ที่สะดวกยิ่งขึ้น
PKC หรือ Cryptography แบบกุญแจสาธารณะ ที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่าการเข้ารหัสแบบอสมมาตร PKC ถูกกำหนดให้เป็นคลาสของโปรโตคอลตามอัลกอริทึม วิธีนี้ต้องการการสร้างและการมีส่วนร่วมกันของกุญแจทั้งสองที่แยกจากกันนั่นคือ กุญแจส่วนตัวและกุญแจสาธารณะ PKC ใช้คู่กุญแจหนึ่งสำหรับการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่ามีการป้องกันสูงสุด จากการเข้าถึงการใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ในขั้นตอนการยืนยันตัวตนของ PKC เครือข่ายขแงผู้ใช้จะได้รับคู่กุญแจของกุญแจส่วนตัวและกุญแจสาธารณะจากหน่วยงานที่ออกใบรับรอง เมื่อผู้ใช้ลงชื่อเข้าสู่ระบบในแพลตฟอร์มที่ใช้งานด้วยกลไกพื้นฐาน PKC เช่น FIDO กุญแจส่วนตัวจะถูกเก็บภายในอุปกรณ์ของผู้ใช้ที่จะถูกนำมาใช้ถอดรหัสข้อความ/ความท้าทายที่ถูกส่งและเข้ารหัสโดยกุญแจสาธารณะบนเซิร์ฟเวอร์
อัลกอริธึม Rivest-Sharmir-Adleman (RSA) คือระบบที่นักพัฒนาใช้สำหรับการเข้ารหัสกุญแจสาธารณะ โดยทั่วไปจะใช้เพื่อส่งข้อมูลที่ปลอดภัยและละเอียดอ่อนผ่านเครือข่ายที่ถือว่าไม่ปลอดภัย เช่น อินเทอร์เน็ต อัลกอริธึมนี้ได้รับความนิยมเนื่องจากมันอนุญาตให้มีการเข้ารหัสทั้งกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัว ทำให้มั่นใจได้ว่าการรักษาความลับและความถูกต้องยังคงอยู่
ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา PKC นำเสนอประโยชน์หลักของความปลอดภัยทางข้อมูลที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเข้ารหัสกุญแจส่วนตัวนั้น การเข้ารหัสกุญแจสาธารณะเป็นโปรโตคอลที่ปลอดภัยมากกว่าอย่างแน่นอน เนื่องจากผู้ใช้ปลายทางไม่จำเป็นต้องส่งหรือเปิดเผยกุญแจส่วนตัว (ที่จัดเก็บโดยอุปกรณ์) ให้กับใครก็ตาม สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถปกป้องผู้ใช้งานจากการโจมตีแบบman-in-the-middle และ phishing เมื่อผู้ไม่หวังดีพยายามเข้าถึงบัญชีของผู้ใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยใช้กลยุทธ์อย่าง social engineering.
นอกจากนี้ PKC ยังให้ลายเซ็นดิจิทัลที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ ซึ่งโปรโตคอลกำหนดให้ผู้ใช้แต่ละรายต้องรับผิดชอบในการปกป้องกุญแจส่วนตัวของตน ในขณะที่การเข้ารหัสกุญแจส่วนตัว กุญแจลับถูกแชร์และแม้กระทั่งส่งผ่านบุคคลที่สามซึ่งจะต้องมีความไว้วางใจ
PKC แม้จะเป็นที่รู้จักในชื่อโปรโตคอลที่ปลอดภัยกว่า แต่ก็ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแทนที่การเข้ารหัสกุญแจส่วนตัวแต่อย่างใด แต่มันเป็นโปรโตคอลเสริม เพราะมีบางกรณีที่ระบบกุญแจส่วนตัวไม่เหมาะ ดังนั้นกุญแจสาธารณะจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น
โดยทั่วไปแล้ว วิธีการเข้ารหัสกุญแจสาธารณะเป็นที่ต้องการในสภาพแวดล้อมที่มีผู้ใช้หลายราย ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาความลับผ่านการแจกจ่ายกุญแจและลายเซ็นดิจิทัลสำหรับการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้
ด้วยระดับการป้องกันที่แข็งแกร่งจากการโจมตีของแฮ็กเกอร์ การเข้ารหัสกุญแจสาธารณะจึงถูกนำไปใช้ในการยืนยันความถูกต้องในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาความปลอดภัยบัญชีผู้ใช้ปลายทางด้วยการจัดเก็บข้อมูลประจำตัวอย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก ฝรั่งเศส สวีเดน ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไทย และไต้หวัน ระบบของรัฐบาลได้ปรับใช้โซลูชันการรับรองความถูกต้องสมัยใหม่ที่มีข้อกำหนด FIDO ตาม PKC โดยรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมต่างยอมรับ FIDO เป็นวิธียอดนิยมในการส่งมอบการยืนยันความถูกต้องด้วยหลายปัจจัยที่มีการรับประกันสูงแก่ผู้ใช้ปลายทาง
ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ธนาคารพาณิชย์ได้นำระบบการตรวจสอบความถูกต้องแบบ PKC (FIDO) มาใช้ตั้งแต่ต้นปี 2562 เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องสำหรับลูกค้า เมื่อใช้ FIDO ในการตรวจสอบสิทธิ์ ผู้ใช้แอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือสามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันการสแกนไบโอเมตริกซ์บนโทรศัพท์ของตนได้อย่างง่ายดาย แทนที่การป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกโจมตีแบบฟิชชิ่ง
ด้วยระบบ PKC ที่มีอยู่แล้ว ธนาคารสามารถส่งมอบขั้นตอนการทำธุรกรรมที่ราบรื่นยิ่งขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใช้รหัสผ่านแบบครั้งเดียวใดๆ (มักจะเป็น SMS) สิ่งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงและรักษาความปลอดภัยให้กับกระบวนการยืนยันความถูกต้องในการชำระเงินได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ธนาคารบรรลุความสมดุลที่ดีระหว่างความปลอดภัยและต้นทุนอีกด้วย